ความเป็นมาของเรื่อง

 อาหารพื้นบ้านภาคใต้
      อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้
เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรม
ของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก
           อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
           เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้ง หอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา นิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดู
           อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น        

อาหารไทยภาคใต้
          อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น
     

เม็ดเหรียง เป็นคำเรียกของคนภาคใต้ มีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต แต่หัวและหางใหญ่กว่ามาก สีเขียว เวลาจะรับประทานต้องแกะเปลือกซึ่งเป็นสีดำออกก่อน จะนำไปรับประทานสดๆ หรือนำไปผัดกับเนื้อสัตว์  หรือนำไปดองรับประทาน
กับแกงต่างๆ หรือกับน้ำพริกกะปิ หรือ กับหลนก็ได้

ลูกเนียง  มีลักษณะกลม เปลือกแข็งสีเขียวคล้ำเกือบดำ ต้องแกะเปลือกนอก แล้วรับประทานเนื้อใน ซึ่งมีเปลือกอ่อนหุ้มอยู่ เปลือกอ่อนนี้จะลอกออกหรือไม่ลอกก็ได้แล้วแต่ความชอบ ใช้รับประทานสดๆ กับน้ำพริกกะปิ หลนแกงเผ็ด โดยเฉพาะแกงไตปลา ลูกเนียงที่แก่จัดใช้ทำเป็นของหวานได้ โดยนำไปต้มให้สุกแล้วใส่มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย และน้ำตาลทรายคลุกให้เข้ากัน


 ฝักสะตอ มีลักษณะเป็นฝักยาว สีเขียว เวลารับประทานต้องปอกเปลือกแล้วแกะเม็ดออก ใช้ทั้งเม็ดหรือนำมาหั่น ปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุก แล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริก หรือจะใช้สดๆ โดยไม่ต้องเผาก็ได้ ถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ควรดองเก็บไว้

บรรณานุกรมออนไลน์
อาหารภาคใต้.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http ://khlabut.blogspot.com/2011/12/1-14-5-6-1.html.
      (วันที่ค้นหา : 4 เมษายน 2559).


เครื่องแกงตำมือภาคใต้ สูตรเครื่องแกงส้มพื้นบ้านภาคใต้ ประกอบด้วย         พริกขี้หนูสด ๑๐ ส่วน  กระเทียม ๔ ส่วน  และ ขมิ้น ๔ ส่วน วิธีทำแกงส้มให้อร่อยเริด๑. นอกจากตัวเครื่องแกง ที่มีความสำคัญแล้ว ขั้นตอนการปรุง และสัดส่วน ระหว่างน้ำแกงกับผัก ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในอันที่จะทำให้แกงส้มได้อร่อย เริ่มตั้งแต่ตั้งน้ำในหม้อ ต้องให้น้ำเดือดก่อนถึงใส่พริกแกง (น้ำแกงจะได้หอม) หลังจากใส่น้ำพริกแกง ลงไปแล้วให้ใช้ไฟกลาง ให้น้ำพริกแกงเดือดสักครู่ใหญ่ ถ้ารีบใส่ผักกับเครื่องอื่นๆลงไป จะได้แกงส้มที่มีรสเผ็ดแบบแผดๆไม่กลมกล่อม
๒.   หลังจากเคี่ยวน้ำพริกแกงสักครู่แล้ว จึงใส่ผักลงต้มจนผักสุกนุ่ม จึงใส่เนื้อปลาหรือกุ้ง ยกเว้น กรณีแกงส้มผักกระเฉด ให้ใส่ปลาปรุงรส รอจนน้ำเดือด จึงใส่ผักกระเฉดเป็นอันดับสุดท้าย แล้วปิดเตาทันที เพราะผักกระเฉด หากถูกความร้อนนานจะเหนียว ทานไม่อร่อย
      แกงส้มปลา ควรใช้ปลาที่สดใหม่ ยังไม่แช่เย็น จะได้เนื้อปลาที่นุ่ม อร่อย ไม่ยุ่ย ถ้ากลัวว่าแกงแล้วจะคาว ให้นำปลาหั่นเป็นชิ้นตามต้องการ นำไปลวกครั้งหนึ่งก่อน แล้วค่อยนำไปแกง แต่ถ้าปลาไม่ค่อยสด หรือเป็นปลาแช่เย็น แนะนำให้นำไปทอดก่อน ให้พอเหลือง แล้วค่อยนำมาแกงจะดีกว่า เคล็ดลับสุดยอด ถ้าอยากได้ แกงส้มที่มีน้ำเข้มข้น ให้ผสมเนื้อปลา ลงในน้ำพริกแกงก่อนนำไปแกง มีวิธีการตามนี้นะคะ นำเนื้อปลาที่จะใช้ แบ่งออกมาเล็กน้อย นำไปต้มจนสุก จากนั้นแยกก้างออก นำไปโขลกในครกให้เนื้อปลาแตก จากนั้น ใส่น้ำพริกแกงส้ม ที่เตรียมไว้ลงไปโขลกรวม แล้วจึงนำไปแกง ตามขั้นตอนปรกติ จะได้น้ำแกง ของแกงส้มที่เข้มข้นขึ้น
   แกงเผ็ด แกงเผ็ดเป็นแกงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แกงเผ็ดถือเป็นแม่แกงของแกงอื่นๆ ต้องใช้เนื้อสัตว์ในการปรุงเป็นหลัก มีผักเป็นส่วนประกอบ แกงเผ็ดถือเป็นแม่แกงของแกงอื่นๆ โดยเปลี่ยนสมุนไพรบางอย่าง กลายเป็นแกงต่างๆ เช่น เพิ่มพริก และแกงไม่ใช้กะทิจะเป็นแกงป่า สามารถใช้แกงเผ็ดผสมกับกะทินึ่งกับสัตว์ทะเลซึ่งจะมีรสชาติอร่อย เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาประกอบได้แก่ เนื้อ หมู ไก่ กุ้ง ปลา ส่วนผักจะใช้ มะเขืออ่อน มะเขือพวง ถั่วฝักยาว หน่อไม้ ฯลฯ ตกแต่งด้วยพริกชี้ฟ้าสีต่างๆ ใบมะกรูด ใบโหระพาปรุงรสด้วยน้ำปลา ให้ความเค็ม มีน้ำตาลเล็กน้อย เพราะแกงเผ็ดได้ความหวานจากกะทิ แกงเผ็ดสำคัญอยู่ที่การปรุงน้ำพริก ต้องปรุงให้ถูกส่วน โขลกน้ำพริกให้ละเอียดเช่นแกงเผ็ดเนื้อไก่หมูกุ้งเนื้อ ปลากราย แกงเขียวหวาน ฯลฯแกงเผ็ดแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ แกงเผ็ดที่ไม่ใส่กะทิ เรียกว่า แกงป่า และแกงเผ็ดที่ใส่กะทิ จะใช้พริกแห้งมีสีแดง เรียกว่า แกงเผ็ด ถ้าใช้พริกสดสีเขียวเรียกว่า แกงเขียวหวาน และ ลักษณะจะมีน้ำแบบขลุกขลิก หรือแห้งๆปรุงรส เค็ม หวานนิดหน่อย เช่น ผัดเผ็ดกบ ผัดเผ็ดปลากราย ผัดเผ็ดหมูป่า
      ผัดเผ็ดพะแนง ก็มีลักษณะเหมือนแกงเผ็ด เป็นอาหารที่จัดอยู่ในจำพวกแกงเผ็ด ส่วนพะแนง เนื้อสัตว์ที่ใช้ต้องเคี่ยวให้นุ่มการปรุงรส มีรสหวาน เค็ม พอดี ตกแต่งด้วยพริกชี้ฟ้าสด ใบมะกรูด ใบโหระพา



บรรณานุกรมออนไลน์
เครื่องแกงตำมือภาคใต้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.gotoknow.org/posts/370383.html.
      (วันที่ค้นหา : 4 เมษายน 2559).


อาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง


 ชีวิตของคนภาคใต้เกี่ยวข้องกับท้องทะเล อาหารการกินส่วนใหญ่มาจากทะเล ซึงถ้ามีมากเกินรับประทานก็จะนำอาหารที่ได้จากทะเลนั้นมาทำการถนอมอาหาร

              ไตปลา หรือพุงปลาได้จากการนำพุงปลาทูมารีดเอาไส้ในออก ล้างพุงปลาให้สะอาดแล้วใส่เกลือหมักไว้ประมาณ 1 เดือนขึ้นไป หลังจากนั้นจึงจะนำมาปรุงอาหารได้
              แกงไตปลามีรสจัด จึงต้องรับประทานร่วมกับผักหลาย ๆ ชนิดควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งคนภาคใต้เรียกว่า ผักเหนาะ ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง เช่น สะตอ ลูกเนียง ยอดมะม่วงหิมพานต์ ผักบางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ แตงกวา หน่อไม้





 ข้าวยำปักษ์ใต้ เป็นอาหารที่เชื่อว่าทุกคนต้องเคยลิ้มลองกันมาบ้างแล้ว เพราะเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวใต้จนดูเหมือนจะกลายเป็นสัญลักษณ์อาหารปักษ์ใต้อีกเมนูหนึ่ง              ข้าวยำของชาวใต้ จะอร่อยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำบูดูเป็นสำคัญ น้ำบูดูมีรสเค็ม แหล่งที่มีการทำน้ำบูดูมากคือจังหวัดยะลาและปัตตานี เวลานำมาใส่ข้าวยำต้องเอาน้ำบูดูมาปรุงรสก่อน จะออกรสหวานเล็กน้อยแล้วแต่ความชอบ น้ำบูดูของชาวใต้มีกลิ่นคาวของปลาเพราะทำมาจากปลา กลิ่นคล้ายของทางภาคอีสาน แต่กลิ่นน้ำบูดูจะรุนแรงน้อยกว่าเนื่องจากน้ำบูดูมีรสเค็ม ชาวใต้จึงนำมาใส่อาหารแทนน้ำปลา            ข้าวยำปักษ์ใต้ที่ปรุงสำเร็จแล้วจะออกรสหลายรสด้วยกัน ได้แก่ รสมันของมะพร้าวรสเปรี้ยวจากมะม่วงดิบและน้ำมะนาว รสเค็มหวานจากน้ำบูดู รสเผ็ดของพริกป่น เรียกว่าเป็นอาหารที่บำรุงธาตุก็ไม่ผิดนัก


น้ำพริกระกำนับเป็นอาหารที่นิยมอย่างหนึ่งในช่วงฤดูร้อน ขณะที่มะนาวขาดแคลน ระกำซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองก็ออกผล คนใต้จึงนิยมประยุกต์ใช้รสเปรี้ยวจากระกำแทนมะนาว นำมาทำน้ำพริกรับประทานกับผักต่าง ๆ น้ำพริกระกำจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนอกจากจะมีรสชาติเปรี้ยวเค็มหวานอย่างกลมกล่อมแล้ว ยังมีกลิ่นหอมของระกำเจืออยู่ด้วย คนใต้นิยมรับประทานคู่กับลูกเนียงซึ่งมีกลิ่นฉุน เมื่อรับประทานคู่กันยิ่งทำให้เพิ่มรสชาติในการรับประทานยิ่งขึ้น นับเป็นของคู่กันเลยทีเดียว             น้ำพริกระกำ เป็นน้ำพริกที่เพิ่มรสชาติของผักเหนาะให้รับประทานได้มากยิ่งขึ้น การรับประทานผักมาก ๆ และหลายชนิด ช่วยให้ร่างกายได้คุณค่าทางอาหารรวมตลอดถึงวิตามินครบถ้วน

บรรณานุกรมออนไลน์
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก 
      www.oknation.net/blog/SouthernFoods/2013/03/23/entry-2.html. 
      (วันที่ค้นหา : 4 เมษายน 2559).




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น